คณะสัตวแพทยศาสตร์ มข. จัดโครงการ Assessment and Implementation of WHOA Day1 Competencies (AID1-C) รอบที่ 2
ช่วงระหว่าง วันที่ 6-7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ World Organization for Animal Health (WOAH), Ohio State University (OSU) และ Iowa State University (ISU) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดจัดโครงการสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในการพัฒนาบัณฑิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานนานาชาติ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Ohio State University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดจัดโครงการอบรมครั้งนี้ถือเป็นรอบที่สอง ต่อจากในรอบแรก เมื่อวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2565 ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึ่งองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้พิจารณาให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางของการจัดตั้งโครงการ AID-1C ซึ่งเป็นความร่วมมือของ OIE และ Ohio State University ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้าน Day One Competencies (D1Cs) ในหลักสูตรของสถาบันผลิตสัตวแพทย์ให้มีคุณภาพที่มีมารตฐานสากล โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเป็นศูนย์การประเมินและการนำ หลักสูตร Day One Competencies (AID-1C) ไปใช้ในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตของสถาบันผลิตสัตวแพทย์ (VEE) ทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในระดับพื้นฐานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพสำหรับการให้บริการวิชาชีพการสัตวแพทย์ต่อสังคมที่ครอบคลุมทั้งในด้านของ specific competencies และ advances competencies ของ OIE D1Cs โดย WHOA เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเป็น VEE Hub ซึ่งได้จัดโครงการฝึกอบรม Curriculum Assessment ขึ้น ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถดำเนินการโดยใช้วิธีการประเมินความรู้ความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการสัตวแพทย์ ตามมาตรฐานหลักสูตรของ OIE Day 1 Competencies (AID-1C) โดยวัตถุประสงค์ของโครงการมีดังต่อไปนี้
- เพื่อสนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถดำเนินการโดยใช้วิธีการประเมินความรู้ความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษาด้านการสัตวแพทย์ ตามมาตรฐานหลักสูตรของ OIE Day 1 Competencies (AID-1C)
- ผู้สนับสนุนการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เพื่อการประเมิน การจัดการการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการประเมินหลักสูตรของ OIE อย่างถูกต้อง
- เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพคนและสัตว์
- เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ สถาบันสัตวแพทยศาสตร์และหน่วยงานต่างๆ
- เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิชาการให้แก่คณาจารย์ และนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือและเครือข่ายภาคีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
ซึ่งการอบรมครั้งนี้ มีทีมผู้ประเมินและสังเกตการณ์จาก ISU และ OSU จำนวน 5 คน เดินทางมาเข้าร่วมและนำการอบรม ได้แก่ Asst. Prof. Dr. Amanda Berrian (Associate Director Veterinary Public Health Program, OSU) Dr. Samantha Swisher (Veterinary Public Health Program, OSU) Dr. Molly Lee (Associate Director Center for food security / public health, College of Veterinary Medicine, ISU), Dr. Delaine Quaresma (Center for food security / public health, College of Veterinary Medicine, ISU) และ Dr. Katie Steneroden (Lead Public Health Veterinary, Center for food security / public health, College of Veterinary Medicine, ISU) โดยมีเข้าร่วมโครงการกว่า 90 คน ประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ผู้แทนจากสถาบันสัตวแพทย์ทั่วประเทศไทยทั้ง 13 แห่ง ผู้ประกอบการและศิษย์เก่า ผู้สังเกตุการณ์จากประเทศเวียดนามและ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว